Wednesday, June 7, 2017

แนวคิดในการวิเคราะห์ธุรกิจ

The Business Analysis Core Concept Model (BACCM) เป็นกรอบความคิดของการวิเคราะห์ธุรกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ส่วน ได้แก่

  1. การเปลี่ยนแปลง (Change) - การเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการ
  2. ความจำเป็น (Need) - ปัญหาหรือโอกาสที่ถูกระบุไว้
  3. ผลลัพธ์ (Solution) - หนทางที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจ
  4. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) - อาจเป็นบุคคล หรือกลุ่มคน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง
  5. คุณค่า (Value) - ความคุ้มค้า, ความสำคัญ, หรือความมีประโยชน์ ของบางสิ่งที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  6. บริบท (Context) - สภาพการณ์ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งนักวิเคราะห์ธุรกิจจะใช้แนวคิดนี้ในการพิจารณาถึงคุณภาพและความสมบูรณ์ของการวิเคราห์ธุรกิจ ซึ่งในแต่ละองค์ความรู้ใน BABOK จะอธิบายตัวอย่างของแต่ละแนวคิดว่าสามารถนำมาปรับใช้อย่างไรได้บ้าง ซึ่งอาจมีการตั้งคำถาม ดังนี้
  • อะไรคือการเปลี่ยนแปลงที่เราจะทำ?
  • อะไรคือความต้องการที่จะให้บรรลุผล?
  • อะไรคือผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง?
  • ใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยข้อง?
  • อะไรคือสิ่งที่มีคุณค่าต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย?
... เป็นต้น

Monday, June 5, 2017

การวิเคราะห์ธุรกิจ และ นักวิเคราะห์ธุรกิจ คืออะไร??

"การวิเคราะห์ธุรกิจ" คือ การก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร โดยกำหนดความจำเป็น และแนะนำสิ่งที่ทำให้เกิดคุณค่ากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) ซึ่ง การวิเคราะห์ธุรกิจจะช่วยให้องค์กรกำหนดความต้องการและมีเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน มีการออกแบบ และอธิบายถึงผลลัพธ์ที่จะทำให้องค์กรมีคุณค่ามากขึ้น

การวิเคราะห์ธุรกิจจะทำให้เกิดการริเริ่มที่หลากหลายขึ้นในองค์กร ซึ่งอาจจะเป็นทางด้านกลยุทธ์หรือด้านปฏิบัติการ หรือแม้กระทั้งในขอบข่ายของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (continuous improvement)

การวิเคราะห์ธุรกิจ จะทำให้เราทราบว่าปัจจุบันองค์กรเป็นอย่างไรและมองไปถึงภาพในอนาคต เพื่อให้เรารู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อไปให้ถึงจุดหมายนั้น

:: ใครคือนักวิเคราะห์ธุรกิจ หรือที่เรียกว่า BA (Business Analyst) ?
"นักวิเคราะห์ธุรกิจ" อาจไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่ง BA ก็เป็นได้ ...(ตัวอย่างตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ BA Architect, Business System Analyst, Data Analyst, Enterprise Analyst, Management consultant, Process Analyst, Product Manager, Product Owner, Requirement Engineer เป็นต้น)

ให้ดูที่หน้าที่ของ นักวิเคราะห์ธุรกิจ ซึ่งจะต้องหาและวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายแหล่งภายในองค์กร รวมถึงเครื่่องมือ กระบวนการ เอกสาร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

นักวิเคราะห์ธุรกิจมีหน้าที่ในการล้วงเอาความต้องการที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียออกมาให้ได้ เพื่อที่จะกำหนดประเด็นและสาเหตุ ซึ่งมีบทบาทดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • เข้าใจเป้าหมายและปัญหาขององค์กร
  • วิเคราะห์ความต้องการและหาคำตอบ
  • วางแผนกลยุทธ์
  • ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  • อำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


BABOK: A Guide to the business analysis body of knowledge

iiBA ก่อตั้งขึ้นที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ตั้งแต่ ตุลาคม ปี ค.ศ. 2003 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนชุมชนการวิเคราะห์ธุรกิจ  โดยการสร้างการรับรู้และการยอมรับ และได้มีการออกคู่มือองค์ความรู้ นั่นก็คือ "BABOK: A Guide to the Business Analysis Body of Knowledge"  ได้พัฒนาเรื่อยมาจนปัจจุบันเป็นเวอร์ชัน 3

BABOK เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ (Knowledge Area), งาน (Tasks), ความสามารถพื้นฐาน (Underlying competency), เทคนิค (Techniques) และ มุมมองในการเข้าถึงการวิเคราะห์ธุรกิจ (Perspectives)

โครงสร้างของ BABOK Guide ประกอบด้วย
#1 องค์ความรู้ (Knowledge Areas) มีทั้งหมด 6 ส่วน ได้แก่

  1. การวางแผนและติดตามการวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analysis Planning and Monitoring)
  2. แบบสอบถามและความร่วมมือ (Elicitation and Collaboration)
  3. วงจรการจัดการความต้องการ (Requirement Life Cycle Management)
  4. การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis)
  5. การวิเคราะห์ความต้องการและออกแบบคำจำกัดความ (Requirement Analysis and Definition)
  6. การประเมินผลลัพธ์ (Solution and Evaluation)


ที่มา: BABOK v3 หน้า 5

#2 งาน (Tasks) คือการแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ ในการวิเคราะห์ธุรกิจ  อาจเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ ถูกจัดกลุ่มให้อยุ่ในองค์ความรู้ ซึ่งนักวิเคราะห์ธุรกิจจะทำตามองค์ความรู้ทั้งหมดเป็นไปตามลำดับ ซึ่งใน BABOK ในแต่ละบทก็จะเป็น pattern ประกอบด้วย วัตถุประสงค์, คำอธิบาย, ปัจจัยนำเข้า (Input), หัวข้อ (Element),แนวทางและเครื่องมือ, เทคนิค, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ ปัจจัยนำออก (Output)

#3 ความสามารถพื้นฐาน (Underlying competency) จะสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ พฤติกรรม คุณลักษณะ และคุณภาพ ที่จะช่วยให้การปฏิบัติประสบความสำเร็จ ตามกฎของนักวิเคราะห์ธุรกิจ (ฺBA)

#4 เทคนิค (Techniques) ใน BABOK มีเทคนิคที่หลากหลายสามารถเป็นทางเลือกนำไปประยุกต์ใช้ได้ มีทั้งหมด 50 เทคนิค ได้แก่ Backlog, Balance Scorecard, Bench-marking, Brainstorming และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งจะกล่าวในครั้งต่อไป

Sunday, June 4, 2017

จุดเริ่มต้นรู้จัก "iiBA"

เนื่องจากดิฉันทำงานเกี่ยวกับ "บริหารโครงการ" ของหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่ง และได้มีโอกาสไปอบรมหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำงาน หลังจากที่ได้ไปอบรม Requirement Analysis ของ สวทช. เมื่อปี 2558 ก็ได้รู้จักกับ iiBA (International Institute Business Analysis) สมาคมการวิเคราะห์ธุรกิจเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานวิชาชีพคล้ายๆ กับ PMI (Project Management Institute) ของอเมริกา

พอได้ไปคุยกับหลายท่าน ได้ความว่าการวิเคราะห์ธุรกิจ หรือที่เราเรียกว่า BA นั้น เป็นขั้นเริ่มต้นของการทำโครงการ ซึ่งสมาคม PMI เองก็ได้คุยกับทาง iiBA เพื่อให้เกิดความร่วมมือขึ้น แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจาก iiBA ซึ่งเป็นของแคนาดา ก่อตั้งขึ้นมาสิบกว่าปีและมีความแข็งแกร่งพอสมควร ทาง PMI จึงได้พัฒนาและออกแบบ certified เป็นของตัวเองมีชื่อว่า PMI Professional in Business Analysis (PMI-PBA) ซึ่งก็ยังไม่เป็นที่นิยมของนักบริหารโครงการในการสอบ cert. ตัวนี้มากนัก

iiBA ได้แบ่ง certified ออกเป็น 4 ระดับ ตามประสบการณ์ของผู้สอบและความยาก ได้แก่ Level 1 - ECBA, Level 2 - CCBA, Level 3 - CBAP, Level 4 - CBATL

ซึ่งในรายละเอียด โปรดติดตามตอนต่อไป
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.iiba.org